Editor's Rating

เป็นมากกว่าพิพิธภัณฑ์บะหมี่ แต่ได้แรงบันดาลใจ และเห็น วิธีการสร้างนวัตกรรมของคนญี่ปุ่น เป็นความภาคภูมิใจที่ สถานที่นี้อยากนำเสนอค่ะ

7.5
การเดินทาง
8
ความคุ้มค่า
9
ความน่าสนใจ

Cupnoodle Museum หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า Momofuku Ando Instant Ramen Museum เป็นที่นึงที่ ต้องบอกว่า “เหนือความคาดหมาย” ไปพอสมควรค่ะ อาจจะเพราะเห็นคนไปกันมาเยอะ และ ดูไม่น่าจะมี Story อะไรให้ตื่นเต้นมากมาย เดาได้ว่า เป็นบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่เราคุ้นเคยกันดี (ก็ไม่เห็นว่ามีอะไรมากกว่านั้น)

Tips :  One Day Trip in Yokohama ของเรา  คือ เช้า ไป Yokohama Sea Paradise เย็น ไป Cupnoodle Museum แต่ว่า เราใช้เวลาเที่ยวใน Sea Paradise กันมากพอสมควร ซึ่งยังไม่จุใจเลยด้วยซ้ำ ถ้าอยากเที่ยวแบบชีลๆ ควรจะแพลนเต็มวัน แนะนำว่าถ้ามีเวลา ค้าง Yokohama สัก 1 คืนเป็นอย่างน้อย จะเที่ยวแบบเก็บบรรยากาศครบทุกรสค่ะ

กว่าจะออกจาก Yokohama  Sea Paradise  ก็บ่ายสามกว่าๆๆ รีบบึ่งมาที่ ตัว Yokohama เพื่อจะให้ทัน Cupnoodle Museum นี้ก่อนปิด ชนิดที่ว่าลงรถไฟที่สถานี Minatomirai ตอน 16.55  โบกแทกซี่ มาลงที่ด้านหน้า เฉียดฉิวก่อนเวลาปิดให้เข้าชม (Last Admission)  17.00 น.  สุดๆ
Address: 2-3-4 Shinko, Naka-ku, Yokohama 231-0001 Japan
Telephone: General information: 045-345-0918 / Chicken Ramen Factory reservations: 045-345-0825
Reception hours: 10:00-18:00, holidays excluded)
Museum hours: 10:00-18:00 (last admission 17:00)  Holidays: Tuesdays (when Tuesday is a holiday, closed the following day), year end / new year holidays
Admission Fee : Adults: 500 yen (tax included) / high school age children and younger admitted free Some facilities within the museum require separate admission. *Museum admission fee and facility usage fees are subject to change.

เดินประมาณ  8 นาทีจากสถานี Minatomirai ค่ะ ถ้าเดินทางมาจากโตเกียว ใช้เวลาประมาณ 1.15  นาที

ด้านในมี Exhibition แบ่งเป็นห้องๆ มีกิจกรรมให้ทำ อาคารมีทั้งหมด 4 ชั้น ชั้นล่างสุด ทางเข้ามีของที่ระลึกสารพัด เกี่ยวกับ บะหมี่ถ้วยขาย
ชั้นบนสุด จะเป็น Noodle Bazaar ขายอาหาร และมีส่วนที่เป็น Cupnoodles Park สนามเด็กเล่นในร่มให้เด็กๆ วิ่งเล่น ไล่ลงมาเป็น ชั้น 3F จะเป็น Workshop Chicken Ramen Factory ที่ต้องจองล่วงหน้า ให้ได้ลองทำบะหมี่ ตั้งแต่กระบวนการแรก ไปจนถึงออกมาเป็นเส้นบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และ My Cupnoodles Factory  ทำบะหมี่ถ้วยของตัวเอง เริ่มตั้งแต่เลือกรสชาติ วาดลายบนถ้วย ใส่เครื่อง เราจะได้เห็นกระบวนการทั้งหมดเลยค่ะ

เรามาถึง ตรงดิ่งไปชั้น 3 ก่อนเลย เพราะเป็นรอบทำบะหมี่ถ้วยรอบสุดท้ายพอดี เริ่มจาก กดตู้ เลือก ถ้วยบะหมี่ มีรส Original / Curry /Seafood  

วาดลวดลายของตัวเองลงไปบนถ้วย 

ใส่เครื่องต่างๆ เด็กจิ้มเอาแต่ของที่ตัวเองชอบจ้า….ไข่ ข้าวโพด ปูอัด และอื่นๆ พนักงานใจดี ดูกระตือรือล้น ตลอดเวลา จากนั้นผ่านไปขั้นตอนการ Pack&Seal 

แพคเกจที่ใส่ถุงกลับบ้านก็ DIY …เป็นถุง PE บางๆ มาให้สอดถ้วยบะหมี่เข้าไปด้านใน ให้เราสูบลมเข้าไป แล้วผูกสายสะพาย น่ารักมากกกกกกกกกกกก…..

ชั้น 2 จะเป็นส่วนจัดแสดงนิทรรศการต่างๆ Instant Noodle History Cube

เรามาทันดู Momofuku Theatre รอบสุดท้าย ฉายประวัติ(เป็นภาษาญี่ปุ่น) ของคุณ Momofuku Ando ผู้ก่อตั้ง บะหมี่ นิชชิน ถึงจะฟังไม่รู้เรื่อง แต่เป็นการ์ตูนที่เดาได้  ดูแล้วรู้สึกขอบคุณในความพยายาม คิดค้น บะหมีกึ่งสำเร็จรูปขึ้นมา  ในยุคสมัยก่อนที่ญี่ปุ่น เผชิญกับความยากจน และลำบาก คุณ Ando คิดว่า อาหารอะไร ที่คนญี่ปุ่นชอบกิน  กินแบบอุ่นๆ อร่อย คำตอบคือ ราเมน แต่ทำยังไง คนจนๆ ถึงจะกินได้ และใช้เวลาไม่นาน   เค้าใช้เวลาเป็นปีในการค้นหาคำตอบ นอนวันละ 4 ชั่วโมง  จนค้นพบว่า เส้นบะหมี่ ถ้าจะเก็บให้ได้นาน ต้องเอาไปทอด ให้กรอบ เสียก่อน  ยาวๆ ไปจนถึง การคิดค้นบรรจุภัณฑ์  ขั้นตอนการ Pack
Momofuku ando Story

Creative Thinking Box เป็นส่วนจัดแสดงที่นำเทคโนโลยี เข้ามาผสม ให้เห็น Creative Thinking Process ของคุณ Momofuku Ando เด็กๆ ชอบมากค่ะ

สุดท้าย พอมาเจออันนี้ ชอบมากกกกกกกกกก นี่พยายามไปเซริชหาว่าใครทำ ใช่คนเดียวกันหรือเปล่า แต่ไม่เจอแฮะ ไม่ทันได้มองชื่อคนทำ(มีหรือเปล่าไม่รู้) แต่คือ เค้าไล่ให้ออกจากมิวเซียม พอจะปิดแล้วเลยรีบบบบออกมา ถ้าใครเจอ บอกด้วยนะคะ ^__^

เคยไปเจอผลงานคล้ายๆ กันนี้ ที่เกาหลี เป็นของ http://ryotakuwakubo.com/   จากนั้นมาก็ติดตามเรื่อยๆ ไปญี่ปุ่นที ก็เช็ค ตาราง Exhibition  ว่ามีตรงกันไหม ถ้าใครชอบงานศิลปะ Contemporary Art แนวๆ นี้ ติดตามโลดด…รับรองว่าไม่ผิดหวัง

นี่คือ Behind the Scene  project ภาพเงาขึ้นไปบนกำแพง  เจ๋งสุดๆ  

หัวใจของสิ่งที่ Cupnoodle Museum สื่อถึงคนดู คือ Creative Thinking ของ Momofuku Ando ผู้คิดริเริ่มบะหมี่สำเร็จรูป  นวัตกรรมนี้ เกิดขึ้นมา เพื่อช่วยเหลือให้คนอื่นมีชีวิตที่ดีขึ้น ความเพียรพยายามในการคิดค้นกรรมวิธี เก็บรักษารสชาติ น้ำซุปต่างๆ  ที่เรียกได้ว่า เป็น Revolution วิธีการกินอาหารรูปแบบเดิมๆ

พิพิธภัณฑ์นี้ จะพาเราไปค้นหา ความคิดสร้างสรรค์ ที่มีอยู่ในตัวเรา ผ่าน สื่อและ sense  ต่างๆ ปิดท้ายด้วย ข้อคิดที่ได้มาจากในพิพิธภัณฑ์  เราจะไม่สงสัยเลยว่า ทำไมถึงมี บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแพร่หลายออกไปทั่วโลก ด้วยแนวคิดนี้

Rather than a lone cedar, it’s better to nurture a whole forest. No one has a monopoly on ideas. Everybody nurtures ideas.

(ช่างสวนกระแสกับระบบทุนนิยมเมืองไทยมากกกกก)